ฟรีแลนซ์ช่วยดูแล เว็บไซต์ WordPress ให้ปลอดภัยจากไวรัสและแฮกเกอร์!

หากคุณใช้เว็บไซต์ WordPress มีโอกาสโดนไวรัส และโดนแฮกง่าย และบ่อยกว่าแพลตฟอร์มอื่น เพราะคุณอาจจะไม่ได้อัพเดทระบบบ่อย หรือใช้รหัสผ่านที่ง่ายเกินไป ทำให้เว็บไซต์ของคุณไม่ปลอดภัย และเพราะ WP เป็น Open source ทำให้แฮกเกอร์สามารถเขียนคำสั่งในการแฮกได้ง่าย ให้ ฟรีแลนซ์ช่วยดูแล เว็บไซต์ WordPress

และอย่าลืมว่าการป้องกันไม่ให้เว็บไซต์ของคุณเกิดปัญหานั้นดีกว่าการมานั่งเสียน้ำตาในวันที่เข้ามาแล้วพบว่าข้อมูลสำคัญๆ หายไปหมดแล้ว ฉะนั้นคุณสามารถติดต่อฟรีแลนซ์ให้แก้ไขได้ทันที เมื่อเจอปัญหาไวรัส และปัญหาแฮกระบบนี้

ฟรีแลนซ์ช่วยดูแล เว็บไซต์ WordPress ให้ปลอดภัยจากไวรัสและแฮกเกอร์!

จ้างฟรีแลนซ์ช่วยอัพเดท Security บน WordPress แทนคุณ!

มีรายงานระบุว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2021 มีการพยายามแฮกรหัสผ่านเว็บไซต์ WordPress มากกว่า 86 พันล้านครั้ง นั่นหมายความว่าโดยเฉลี่ยแล้วจะมี 30,000 เว็บที่ถูกแฮกเกอร์เล่นงาน ทั้งไวรัส และแฮกในทุกวัน ปัญหาแฮก และมัลแวร์ประเภทต่างๆ ส่งผลโดยตรงต่อทุกกลุ่มธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ โดยที่จริงแล้ว 43% ของ Cyber Attack นี้มักมุ่งเป้าไปที่ธุรกิจขนาดเล็ก และมีเพียง 14% เท่านั้นที่เตรียมความพร้อมรับมือ นอกจากนี้สาเหตุที่เว็บไซต์ WordPress โดนแฮกบ่อย มีหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการที่ผู้ดูแลเว็บไซต์ไม่มีความรู้เบื้องต้นในการป้องกัน เช่น ไม่ได้อัพเดตระบบหรือปลั๊กอินเป็นระยะเวลานาน เป็นต้น

ขั้นตอนดูแลความปลอดภัย ฟรีแลนซ์ช่วยดูแล เว็บไซต์ติดไวรัส

สำหรับเจ้าของเว็บไซต์ที่กำลังกังวลว่าเว็บของท่านปลอดภัยแค่ไหน ตรวจสอบได้จากหัวข้อด้านล่างได้เลย

1. เปิดใช้งาน HTTPS:// หรือ SSL Certificates

เว็บไซต์ส่วนใหญ่ยังคงไม่ได้เปิดคำสั่งใช้งาน SSL และคุณทราบไหมว่า SSL คืออะไร? SSL Certificates ย่อมาจาก Secure Socket Layer คือใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นไฟล์ข้อมูลขนาดเล็ก ที่ถูกผูกไว้กับ Private Key ของเครื่องเซิร์ฟเวอร์ แฮกเกอร์จะดักจับข้อมูล หากเปิดใช้งาน SSL ข้อมูลก็ยังมีความปลอดภัยเพราะแฮกเกอร์จะไม่สามารถถอดรหัสข้อมูลเหล่านั้นได้ 

การที่เว็บไซต์ใช้ SSL Certificates ถือเป็นมาตรฐานที่เว็บไซต์นับล้านใช้เพื่อปกป้องข้อมูลธุรกรรมออนไลน์ของลูกค้า ฉะนั้น SSL ควรเป็นขั้นตอนแรกต้องทำเพื่อรักษาความปลอดภัยของเว็บไซต์ โดย SSL Certificates โดยมากผู้ให้บริการโฮสติ้งส่วนใหญ่จะเสนอให้ใช้งานได้ฟรี จากนั้นอย่าลืมตั้งค่าการใช้งานให้เว็บไซต์บังคับใช้ SSL ด้วยวิธีการทำ Redirect HTTP ไปยัง HTTPS 

2. เปลี่ยนรหัสที่ไม่ปลอดภัย ให้รัดกุมยิ่งขึ้น

เจ้าของเว็บไซต์หลายคนชอบละเลยในการเปลี่ยนชื่อของผู้ใช้งานเป็น Admin และรหัสผ่านใช้งานได้ง่าย ซึ่งอาจกลายเป็นเรื่องที่ช่วยให้แฮกเกอร์สามารถเข้าถึงการสุ่มรหัสผ่านได้ง่ายมากขึ้น นอกจากนี้การตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยากก็จะช่วยเป็นการปรับปรุงความเข้มงวดและความปลอดภัยของเว็บไซต์ และจะช่วยลดโอกาสที่จะถูกแฮกเกอร์เล่นงานได้ ยิ่งรหัสผ่านแข็งแรงและคาดเดาได้ยากมากเท่าไหร่ โอกาสที่เว็บไซต์จะตกเป็นเหยื่อของแฮกเกอร์ก็จะยิ่งน้อยลงเท่านั้น

3. ติดตั้ง Plugin เสริมการป้องกัน Security

ปลั๊กอิน Security บน WordPress เป็นหนึ่งในวิธีพื้นฐานที่ยอดเยี่ยมในการเสริมการป้องกันเว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากปลั๊กอินที่ช่วยเรื่องความปลอดภัย(Security) นั้นมีให้เลือกใช้เป็นจำนวนมาก การเลือกปลั๊กอินโดยอิงจากความน่าเชื่อเป็นหลัก ถึงแม้จะมีราคาที่แพงก็จะช่วยให้เว็บไซต์ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

  • Wordfence Security
  • All In One WP Security & FireWall
  • iThemes Security
  • Jetpack

4. อัพเดทเวอร์ชั่น WordPress ธีม และปลั๊กอิน อย่างสม่ำเสมอ

เรื่องพื้นฐานที่ทำได้ง่ายๆ ในการเสริมความป้องกัน WordPress ที่ดีที่สุด คือการทำให้เว็บไซต์ WordPress อัพเดตอยู่เสมอเพื่อความปลอดภัยและความเสถียรของเว็บไซต์ เพราะอย่าลืมว่า WordPress จะมีการอัพเดตเวอร์ชันเป็นช่วงๆ โดยแต่ละการอัพเดตก็จะมีทั้งการเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ๆ รวมไปถึงแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย โดยปิดช่องโหว่ต่างๆ ที่จะเพิ่มความเสี่ยงในการโดนแฮก ฉะนั้นห้ามทิ้งช่วงการอัพเดต WordPress นานเกินไป ควร “อัพเดตทันที ที่มีการปล่อย WordPress เวอร์ชันล่าสุดออกมา” 

5. ให้ความสำคัญกับ Theme & Plugins

การเลือกซื้อธีมและปลั๊กอินต่างๆ จาก Official Site หรือแหล่งที่น่าเชื่อถือ จะเป็นการป้องกันเว็บไซต์ไม่ให้เจอมัลแวร์หรือโค้ดที่จะมาสร้างปัญหาให้กับ WordPress ได้  นอกจากนี้การอัเดตธีมและปลั๊กอินทุกครั้งที่มีเวอร์ชันใหม่ก็จะช่วยเรื่อง Security บนเว็บไซต์ด้วย

6. ย้ายที่อยู่ไฟล์ wp.config.php

wp.config.php เป็นไฟล์ที่เก็บบันทึกข้อมูลการตั้งค่าสำคัญต่างๆ ของเว็บไซต์ โดยปกติจะถูกวางไว้ที่ Root Directory ซึ่งการย้ายไฟล์นี้ไปไว้ในโฟลเดอร์ต่างๆ ที่ลึกมากขึ้นก็จะช่วยป้องกันการเข้าถึงของแฮกเกอร์ได้ในระดับหนึ่ง และไม่ต้องกังวลในเรื่องของการทำงานของ WordPress เพราะว่าระบบจะสามารถค้นหาไฟล์นี้ได้ไม่ว่าจะถูกนำไปวางไว้ที่ไหนก็ตาม

7. ซ่อนหน้าเข้าสู่ระบบ WP-Admin

หากเว็บไซต์ WordPress ยังใช้ Log In URL แบบดั้งเดิมโดยการเติม “/wp-admin หรือ /wp-login.php” ต่อท้าย URL เพื่อเข้าสู่หน้าระบบจัดการเว็บไซต์อยู่ ก็อาจเป็นเรื่องง่ายที่เว็บไซต์อาจจะถูกแฮกเกอร์ที่คุ้นเคยกับระบบ WordPress อยู่แล้วสามารถสุ่มรหัสผ่านเข้าสู่หลังบ้านของเว็บไซต์ได้ทันที ฉะนั้นการใช้ปลั๊กอิน WPS Hide Login เพื่อซ่อนหน้าเข้าสู่หลังบ้านเว็บไซต์ก็จะช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาแฮกเกอร์ได้ในระดับหนึ่ง

8. ปิด XML-RPC 

XML-RPC บนเว็บไซต์ WordPress เป็นตัวช่วยในการโอนถ่ายข้อมูลระหว่างตัว WordPress และระบบอื่นๆ เช่น การโพสต์คอนเทนต์จากแพลตฟอร์มอื่นๆ แล้วคอนเทนต์นั้นจะถูกโพสต์บนเว็บไซต์ที่เชื่อมต่อกับ WordPress ไว้ก่อนหน้า อย่างไรก็ตามหากเว็บไซต์ไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มอื่นไว้ แนะนำว่าควรปิดการทำงานของ XML-RPC ไว้จะดีกว่าเพื่อป้องกันการเปิดช่องโหว่ให้เว็บไซต์ถูกแฮกเกอร์โจมตี

9. เลือกโฮสต์ที่มีคุณภาพ และมีระบบป้องกันที่ดี

Hosting หรือที่นิยมเรียกกันว่าโฮสต์ ไม่ว่าจะเป็นแชร์โฮสต์, คลาวด์โฮสต์ หรือ วีพีเอส ก็เป็นคำนิยามของพื้นที่ที่เอาไว้ติดตั้งตัวเว็บไซต์ WordPress ฉะนั้นการมี Hosting ที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ และมีความปลอดภัย ก็จะเป็นการเสริมความมั่นใจให้กับเว็บไซต์ได้อีกระดับหนึ่ง ข้อแนะนำเบื้องต้นในการเลือกโฮสต์สำหรับเว็บไซต์คือ 

10. Back Up ข้อมูลทุกช่วงเวลา

หนึ่งวิธีในการปกป้องเว็บไซต์ WordPress ที่ดีที่สุดคือการมีข้อมูลสำรองของเว็บไซต์และไฟล์สำคัญอยู่เสมอ เพราะอย่าลืมว่าแม้จะทำตามวิธีการต่างๆ เพื่อป้องกันเว็บไซต์แล้ว แต่ก็ไม่มีอะไรมายืนยันว่าเว็บไซต์จะปลอดภัยต่อไวรัสหรือแฮกเกอร์ 100% ด้วยการ Back Up ข้อมูลสำคัญของเว็บไซต์ไว้หากพบ Worst Case Scenario ขึ้นมาอย่างน้อยก็ยังสามารถกู้คืนข้อมูลสำคัญต่างๆ ของเว็บไซต์ได้ทันที